ซ่อน เมนูด้านซ้าย
บางรักจัดฟัน ดอทคอม รวมทุกเรื่อง ทางทันตกรรม  
หน้าแรก-first page

ฟันหลุดจากเบ้า-

 ปัญหาที่สำคัญในการรักษาฟันหลุดจากเบ้า(Avulaion) คือการละลายของรากฟัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการรักษาฟันประเภทนี้คือ ต้องไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อปริทันต์ซึ่งเป็นส่วนที่ จะไปเชื่อมติดกับเบ้าฟันเดิม นั่นคือ

การเก็บฟันภายหลังหลุดออกมาในของเหลวที่มีสภาพ ใกล้เคียงกับของร่างกายเช่น อาหารเลี้ยงเซลล์ (cell cultre medium ) น้ำนม เป็นต้น ตลอดจนการนำฟันกลับเข้าสู่ที่เดิมภายใน 15-30 นาที จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มความสำเร็จของการรักษา แนวโน้มที่จะเกิดการละลายของรากฟันน้อย ดังนั้นการบำบัดฉุกเฉินคือฉีดยาชา ทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยผ้าก๊อชชุบน้ำเกลือและล้างภายใน เบ้าฟันด้วยน้ำเกลือ

ในกรณีที่มีเลือดแข็งตัวอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งขัดขวางต่อการใส่ฟันกลับเข้าที่ ให้ขูดเลือดที่แข็งตัวออกเบาๆ สำหรับฟันที่หลุดออกมานั้นถ้ามีสิ่งสกปรกติดอยู่ ให้แกว่งล้างในอาหารเลี้ยงเซลล์ หรือน้ำเกลืออย่าใช้สำลีเช็ด เพราะจะเกิดอันตรายต่อเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ที่อยู่รอบราก นำฟันกลับเข้าเบ้าให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องเปิดรักษาคลองรากฟัน 

ตรวจสอบด้วยภาพรังสีว่าฟันอยู่ถูกตำแหน่ง ยึดฟันให้อยู่กับที่กับฟันซี่ข้างๆ ด้วยเส้นเอ็นไนล่อน หรือลวดเส้นเล็กๆ  ร่วมกับ bonding agent และcomposite resin เพื่อให้ฟันสามารถขยับได้บ้างเล็กน้อยตามธรรมชาติ พร้อมทั้งตรวจสอบฟันอย่าให้มีการกระแทก ภายใน 7-14 วัน นัดผู้ป่วยกลับมาเพื่อเปิดรักษาคลองรากฟัน เพราะช่วงระยะเวลานี้เนื้อเยื่อในจะเริ่มมีการตาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยได้รับการฉีดกระตุ้นวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ควรแนะนำให้ทำ

สำหรับยาต้านจุลชีพนั้นไม่ค่อยจำเป็นนักยกเว้น บริเวณเบ้าฟันมีการปนเปื้อนของเศษสกปรก  เพราะอาการบวมที่เกิดจะเนื่องจากแรงกระแทกมากกว่าการติดเชื้อ  แนะนำให้ผู้ป่วยประคบน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการบวมลงได้ 

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยมีฟันหลุดออกมาอยู่นอกเบ้าฟันเป็นเวลานานเกิน 30 นาที การพยากรณ์โรคจะค่อนข้างต่ำ

กรณีที่ ผู้ป่วยมีอุบัติเหตุหกล้มและฟันหลุดออกมานอกเบ้าทั้งซี่ โดยทั้งตัวฟันและรากอยู่ในสภาพดีไม่แตกหัก ผู้ป่วยห่อฟันไว้อย่างดีในกระดาษเช็ดหน้าและมาพบ เพื่อให้ช่วย้ใส่ฟันกลับเข้าเบ้า 24 ชม. หลังจากฟันหลุด ฟันที่เก็บในลักษณะนี้เซลล์เอ็นยึดปริทันต์โดยรอบรากต้องตายหมดแล้ว เพราะการปล่อยให้ฟันแห้งนานกว่า 60 นาที จะมีผลทำให้เซลล์ตาย และการปล่อยเซลล์ที่ตายไว้รอบรากและนำฝังกลับคืนไปในเบ้าฟันดังเดิม จะมีผลทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการละลายของรากฟันแบบแทนที่ตามมา ในไม่ช้า

การติดตามผลของการรักษาภายหลัง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดหรือผิดปรกติที่เหงือกจึงกรอ composite resin ที่ยึดติดกับฟันทั้ง 2 ด้านออก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของฟันตามธรรมชาติ (physiological movement ) แต่ผู้ป่วยกลับมาด้วยอาการฟันโยก degree จึงจำเป็นต้องยึดติดกับฟันซี่ข้างๆ ทั้งสองด้านดังเดิม จากการติดตามผลของการรักษา 2 ปี ผู้ป่วยพอใจมาก ไม่มีอาการเจ็บปวด ถึงแม้จะมีร่องลึกปริทันต์ 5 มม. แต่เหงือกโดยรอบไม่มีการอักเสบและไม่มีรากละลาย หรือรอยโรคที่ปลายราก -

ซ่อน เมนูด้านซ้าย
คลินิคทันตกรรม บางรัก 02-234-6863
คลินิคทันตกรรม สีลม21 02-234-6769
หน้าแรก-first page