ซ่อน เมนูด้านซ้าย
บางรักจัดฟัน ดอทคอม รวมทุกเรื่อง ทางทันตกรรม  
หน้าแรก-first page
-ตำแหน่งของหินปูน 

--หินปูนที่จับตัวบนฟัน แบ่งได้กว้างๆ เป็น 2 ชนิด คือ  หินปูนเหนือเหงือก (Supragingval Calculus) หินปูนเหนือเหงือกก็คือหินปูนที่จับอยู่บนผิวฟัน เหนือระดับขอบเหงือก ลักษณะหินปูนเหนือเหงือก มักมีสีขาวคล้ำอมเหลืองคล้ายก้อนดินเหนียวแข็ง แต่ถ้าเป็นคนสูบบุรี่ คนเคี้ยวหมาก หรือกินอาหารที่มีสารสีผสมบางชนิด ก็จะที่ให้สีของหินปูนเปลี่ยนแปลงไปได้ หินปูนเหนือเหงือกนี้มักพบว่า เกิดขึ้นได้มากบนผิวด้านกระพุ้งแก้มของฟันกรามหลังบน และบนผิวฟันด้านลิ้นของฟันหน้าล่าง ถ้าหากยังปล่อยให้หินปูนยังคงจับตัวกันต่อไป โดยไม่ได้กำจัดออกจะพบว่า หินปูนที่เกิดขึ้นบนฟันแต่ละซี่เชื่อมเข้ามาเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นก้อนหินปูนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นๆ ยิ่งคนแก่ๆ ที่กินหมาก บางทีจะพบว่าหินปูนเกาะคลุมทั้งซี่ หรือเป็นแถบๆ ไปเลยก็มี
หินปูนใต้เหงือก (Subgingival Calculus) หินปูนใต้เหงือกก็คือ หินปูนที่จับอยู่ในระดับของเหงือก ซึ่งอาจจะขยายตัวลุกลาม ลงไปตามผิวของรากฟัน ซึ่งอยู่ใต้เหงือกลงไป หินปูนใต้เหงือกนั้น มักจะเกิดขึ้นร่วมกับการมีร่องเหงือกลึกๆ ซึ่งโดยปกติจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น หินปูนพวกนี้จำเป็นต้องให้ทันตแพทย์ใช้เครื่องมือปลายแหลม ตรวจหาขนาดและขอบเขตของมันอย่างระมัดระวัง
หินปูนใต้เหงือกมักจะแข็งกว่าชนิดเหนือเหงือก มีสีน้ำตาลเข้มหรือค่อนข้างดำ เกาะตัวค่อนข้างแน่นอยู่กับผิวฟัน ส่วนใต้ขอบเหงือก หินปูนชนิดเหนือเหงือกและใต้เหงือก มักเกิดขึ้นควบคู่แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ในบางครั้งหากส่องกระจกฟันไม่พบอะไร แต่เมื่อให้ทันตแพทย์ตรวจอาจพบหินปูนใต้เหงือกก็ได้

ซ่อน เมนูด้านซ้าย
คลินิคทันตกรรม บางรัก 02-234-6863
คลินิคทันตกรรม สีลม21 02-234-6769
หน้าแรก-first page